บ้าน ถือเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่ใคร ๆ ก็ใฝ่ฝันจะครอบครองเป็นของตัวเองสักหลัง แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และมีรายได้ต่อเดือนไม่มากพอ ทำให้ในขั้นตอนการยื่นกู้ไม่ได้รับอนุมัติ
เพราะฉะนั้น การกู้ร่วมซื้อบ้าน จึงเป็นตัวช่วยที่จะทำให้การอนุมัติสินเชื่อบ้านนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้น
สำหรับคนที่มีรายได้ไม่สูงนัก หรือมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอื่น พูดง่าย ๆ คือหาคนช่วยแชร์ภาระหนี้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงเรือลำเดียวกัน เรารู้จักการกู้ร่วมดีพอหรือยัง?
กู้ร่วมซื้อบ้านคืออะไร?
การกู้ร่วมซื้อบ้าน คือ การร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน เพื่อแสดงให้สถาบันการเงินเห็นว่าผู้ร่วมรับภาระหนี้มีความสามารถทางการเงินเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้ตามสัญญา เพื่อให้สถาบันทางการเงินอนุมัติการขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น บ้าน เดี่ยว ชลบุรี
ใครบ้างที่ขอกู้ร่วมได้?
- คนที่มีนามสกุลเดียวกัน เช่น พี่ – น้อง หรือ พ่อ – แม่ -ลูก
- พี่ – น้องท้องเดียวกัน แม้จะคนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ โดยต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
- สามี – ภรรยา แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็กู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี – ภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายหรือการ์ดงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร
แต่ว่าการกู้รูปแบบนี้ก็ไม่ได้มีเพียงข้อดีเสมอไป มาดูกันว่า “การกู้ร่วมซื้อบ้าน” มีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน
- ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น คนที่ต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดฯ แต่กังวลว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาของธนาคาร หากมีผู้กู้ร่วมที่มีสุขภาพการเงินแข็งแรง ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- ได้วงเงินสูงขึ้น การมีผู้กู้ร่วม ฐานรายได้ที่นำมาพิจารณาก็จะเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสได้วงเงินสูงขึ้น
- ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว การกู้ร่วมทำให้เรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้ และเป็นการกระจายความเสี่ยง เผื่อวันหนึ่งเราขาดสภาพคล่อง ก็ยังมีผู้กู้ร่วมที่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องช่วยกัน บ้าน เดี่ยว ชลบุรี
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจกู้ร่วม
- กู้ร่วมไม่ได้แปลว่าต้องหารหนี้เท่า ๆ กัน การกู้ร่วมไม่ได้แปลว่าจะต้องรับผิดชอบฝ่ายละครึ่ง (หรือหารเท่า ๆ กัน) แต่ทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินก้อนนี้ร่วมกัน ดังนั้นถ้าผิดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ธนาคารมีสิทธิ์จะเรียกชำระหนี้จากใครก็ได้ที่เป็นผู้กู้ร่วม
- การใส่ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกู้ร่วมอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบคือ “ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ง่ายและสะดวก แต่ผู้กู้ร่วมจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในอสังหาฯ นั้น กับอีกแบบคือ “ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์เท่า ๆ กัน แต่หากต้องการขายอสังหาฯ นั้น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคน
- สิทธิ์ลดหย่อนภาษี สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ จะแบ่งกันเองไม่ได้ แต่จะลดหย่อนรวมได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท (ถ้ากู้ร่วม 2 คน แปลว่าลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท)
- ถ้าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิตจะต้องแจ้งธนาคาร มิเช่นนั้นสัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิต (ที่ธนาคารประเมินแล้วว่าสามารถจ่ายหนี้ได้) จะเข้ามารับช่วงต่อการผ่อนชำระ
ลงชื่อกู้ร่วมแล้วจะยกเลิกได้มั้ย?
จะถอนชื่อกู้ร่วมได้ ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่สามารถผ่อนชำระไหว หรือใกล้หมดสัญญาแล้ว แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าคนที่เหลืออยู่ผ่อนไม่ไหว ก็ต้องหาคนอื่นมากู้ร่วมแทน
สรุป
แม้ว่าการกู้ร่วมซื้อบ้านจะเป็นข้อเสนอที่ดีสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์ไม่เพียงพอ แต่ถึงกระนั้นก็ต้องคำนึงถึงข้อควรระวังหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นภาระเงินผ่อนที่ต้องแบกรับ เรื่องของผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ และอย่าลืมศึกษาพฤติกรรมของผู้กู้ร่วมให้ดี ๆ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง
หากเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมเรื่องการกู้บ้าน กังวลเรื่องกู้ไม่ผ่าน วางแผนไม่เป็น ไม่แน่ใจจะปรึกษาใครดี ต้องนี่เลย โครงการบ้านเดอะแกรนด์ เราเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ มีแนวทางการกู้ที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่มเพื่อการมีบ้านในฝันของคุณ พร้อมปรึกษาวางแผนการเงินจาก ผ่านการอบรมจากสถาบันการเงินชั้นนำ ดูแลให้คำปรึกษาอยู่เคียงข้างคุณ และดูแลคุณจนโอนบ้านพร้อมอยู่ โครงการ บ้านแฝด ชลบุรี
ไม่พลาดข้อมูลข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับบ้าน เพียงแค่เข้ามาที่ เดอะแกรนด์ รับรองว่าได้รับความรู้แบบที่คุณหาจากที่ไหนไม่ได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง 1 : https://blog.ghbank.co.th/joint-home-loan/
อ้างอิง 2 : https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/healthyborrowing-howtoreducedebt-feb-2021-1
อ้างอิง 3 : www.sansiri.com/content/view/Home-Buyer-Guide-ตอนที่-3-รู้จักการกู้ร่วม-และขั้นตอนการยื่นกู้กับธนาคาร/th